Skip to main content

Design Thinking กระบวนการคิดเชิงออกแบบ

Design Thinking หรือ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ คือขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการออกแบบ UX design กระบวนการนี้มีประโยชน์มากในการช่วยให้ผู้ออกแบบมองเห็นวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ เช่น การคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเพื่อแก้ปัญหา รวมไปถึงการคิดที่ช่วยสร้างนวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งาน

design thinking

คุณค่าที่สำคัญที่สุดสำหรับ Design Thinking คือ การทำความเข้าใจกลุ่มผู้ใช้งานของแอปพลิเคชันหรือเว็บไซด์ของเรานั่นเอง

ซึ่ง กระบวนการคิดนี้ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนหลัก คือ

  1. Empathize (ทำความเข้าใจ)

    • การทำความเข้าใจและการเอาใจใส่กลุ่มผู้ใช้งานนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในการเริ่มออกแบบ เราสามารถทำความเข้าใจกลุ่มผู้ใช้งานของเราได้ด้วยการ พูดคุย(talk), ฟังความคิดเห็น(think), เข้าใจความรู้สึก(feel), และ สังเกตุการโต้ตอบ(action) ของกลุ่มผู้ใช้งานนั่นเอง
  2. Define (กำหนดเป้าหมาย)

    • หลังจากได้รับข้อมูลคร่าวๆจากกลุ่มผู้ใช้งานแล้วในขั้นตอน Empathize เราก็สามารถเริ่มค้นหาปัญหาของผู้ใช้งานว่ามีปัญหาอะไร และทำไมถึงเป็นปัญหา ซึ่งการกำหนดเป้าหมายในการทำงานนั้นควรคำนึงถึง factors ต่างๆ ว่าที่จะแก้ไขนั้นมีผลกับ product และกระทบกับกลุ่มผู้ใช้งานมากน้อยเพียงใด ควรเรียงลำดับ priority ของปัญหาให้ดี และ เลือกที่จะเริ่มทำการแก้ไขปัญหาจากสิ่งที่ใหญ่และมีผลกระทบกับผู้ใช้งานจำนวนมากก่อนเพื่อภาพรวมที่ดีของตัว product และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน
  3. Ideate (ระดมความคิด)

    • ขั้นตอนนี้อณุญาติให้เรามีความฟุ้งในการคิดแก้ไขปัญหาได้ไม่จำกัด เน้นจำนวน ยังไม่เน้นคุณภาพ พยายามคิดให้ได้เยอะที่สุด เราสามารถระดมความคิดในหลากหลายมุมมอง หลากหลายวิธี เพื่อหาไอเดียไม่ใช่แค่ดีที่สุด แต่ต้องเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน
  4. Prototype (สร้างต้นแบบ)

    • การสร้าง prototype หรือ ต้นแบบ คือการนำไอเดียการแก้ไขปัญหาที่เราได้ทำการเลือกแล้ว มาทำเป็นชิ้นงานที่จับต้องได้ และเป็นต้นแบบของงานที่สามารถเอาไปใช้ได้จริง ซึ่งการสร้างตัวต้นแบบนี้เป็นเพียงภาพรวมคร่าวๆของตัว product ที่สร้างขึ้นเพื่อนำไปทดสอบในขั้นตอนต่อไป
  5. Testing (ทดสอบ)

    • และขั้นตอนสุดท้าย คือการทดลองนำตัวต้นแบบหรือข้อสรุปที่จะนำไปใช้จริงมาปฎิบัติก่อนกับกลุ่มผู้ใช้งาน เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของ flow ต่างๆ ไปจนถึงการประเมินผลในการใช้งาน หลังจากนั้นก็นำ feedback หรือข้อดีข้อเสียจากการทดสอบนี้มาปรับปรุงแก้ไขตัว product ก่อนนำไปใช้จริง

หลังจากจบขั้นตอน testing แล้วก็วนกลับไปขั้นตอนก่อนหน้า ทำแบบนี้วนไปเรื่อยๆจนคุณเข้าใจและเข้าถึงปัญหาจริงๆ และสามารถคิดวิธีแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ให้กับกลุ่มผู้ใช้งานของคุณได้